เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักปรัชญาชาวสวีเดน นิก บอร์สตอร์ม (Nick Bostorm) ได้ตีพิมพ์งานวิจัยสุดแปลกที่นำเสนอว่าเราอาจอยู่ในความเป็นจริงเสมือน ที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งหลายคนมองว่าข้อเสนอของเขา มีความเป็นไปได้แบบ 50–50 เลยทีเดียว
หนึ่งในแนวคิดที่สนับสนุนทฤษฎีนี้คือแนวคิดของพหุภพ (Multiverse) ที่ว่าเอกภพหรือจักรวาลของเรานั้นมีหลายเอกภพ ไม่ได้มีแค่เอกภพของเราเพียงอันเดียว ซึ่งเอกภพทั้งหลายนี้รวมกันเป็นโครงข่ายประสาทเทียม (Neural network) ขนาดใหญ่ ซึ่งไวทัลลี แวนเชอร์ริน (Vitaly Vanchurin) นักฟิสิกส์ชื่อดังก็ได้ออกมายืนยันแนวคิดนี้เช่นกัน
โดยแนวคิดนี้เสนอว่าเอกภพของเราอาจเป็นหนึ่งในพหุภพ และพหุภพนั้นเป็นโครงข่ายประสาทเทียมขนาดยักษ์ที่ประกอบด้วยหลากหลายเอกภพ แต่ละเอกภพทำหน้าที่เป็นเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับเส้นประสาทอื่น ๆ และได้รับการป้อนข้อมูลและสามารถกระทำการใด ๆ เพื่อสร้างผลลัพธ์ (Output) เหมือนที่โครงข่ายประสาทของมนุษย์เรา หรือโครงข่ายประสาทของเอไอทำได้
รูหนอน (Wormhole) อาจเป็นจุดเชื่อมต่อและส่งข้อมูลของแต่ละเอกภพ และหลุมดำ (Blackhole) คือจุดที่แต่ละเอกภพส่งผลลัพธ์ (Output) ให้แก่กัน ซึ่งมนุษย์เราไม่ได้เป็นผลลัพธ์ดังกล่าว แต่เป็นหมากหรือเครื่องมือที่จักรวาลป้อนข้อมูลให้ กำหนดทิศทาง และรวบรวมสิ่งที่เราทำส่งออกไปเป็นผลลัพธ์ให้จักรวาลเส้นประสาทอื่น ๆ นั่นเอง…
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้สร้างเกมออนไลน์ที่เว็บไซต์ emojify.info เพื่อแสดงให้เห็นถึงอันตรายของเทคโนโลยีตรวจจับอารมณ์ (Emotion recognition) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการถกเถียงด้านประเด็นทางจริยธรรมกันมายาวนาน
แม้หลายคนมองว่าเทคโนโลยีนี้อาจมีประโยชน์ในหลายทาง เช่น เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน หรือทำวิจัยการตลาด แต่อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะรุกล้ำประเด็นด้านสิทธิส่วนบุคคล เสรีภาพทางการแสดงออก และอาจก่อให้เกิดอคติหรือการแบ่งแยกอีกด้วย
ฝั่งทีมพัฒนาเทคโนโลยีได้อ้างว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถตรวจจับอารมณ์และความรู้สึกที่แท้จริงของเราได้ และนักวิทยาศาสตร์จึงพิสูจน์ข้ออ้างนี้ผ่านการสร้างเกมออนไลน์ขึ้นมา เกมออนไลน์ดังกล่าวเปิดให้คนได้ทดลองใช้ระบบ Emotion recognition ผ่านทางคอมพิวเตอร์ของตนเอง โดยเกมจะให้ผู้ใช้แกล้งยิ้มแล้วดูว่าระบบจะตรวจจับว่าเป็นรอยยิ้ม หรือจะเข้าใจจริง ๆ ว่าเรากำลังแกล้งยิ้ม
เกมนี้ต้องการพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า อารมณ์ที่แท้จริงของเรานั้นไม่ใช่สิ่งที่แสดงออกอย่างตื้นเขินผ่านสีหน้าเพียงอย่างเดียว
เรื่องการแสดงออกทางสีหน้านั้นสามารถปลอมกันขึ้นมาได้ ทำให้ Emotion recognition…
ทีมนักพัฒนาชาวอิสราเอลได้คิดค้น Vocalis แอปพลิเคชันตรวจจับอาการของโรคโควิด-19 ผ่านน้ำเสียงของผู้ป่วยได้ โดยมีความแม่นยำถึง 81.2 เปอร์เซ็นต์
โดยปกติแล้วการตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 นั้นแทบจะทำไม่ได้เลยหากไม่ได้ไปรับการตรวจด้วยตนเองที่โรงพยาบาล การคัดกรองเบื้องต้นที่ให้ผู้ป่วยกรอกข้อมูลด้วยตนเองก็มีความแม่นยำไม่มากนัก เพราะอาการของโรคมีหลากหลาย
และบางครั้งผู้ป่วยอาจเกิดการสับสนระหว่างไข้หวัดธรรมดากับโรคโควิด-19 ได้ Vocalis จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาตรงจุดนี้
แอปพลิเคชันนี้ใช้เอไอในการตรวจจับอาการของโรคผ่านน้ำเสียงของผู้ป่วย โดยเอไอสามารถตรวจจับได้ว่ามีผู้ป่วยว่ามีเสียงที่บ่งถึงอาการไข้ ปวดหัว หรือหายใจถี่หรือไม่ เป็นต้น โดย Vocalis ได้รับการออกแบบมาเพื่อตรวจจับโรคหลายชนิดนอกเหนือจากโควิด-19 และสามารถใช้งานได้โดยการติดตั้งบนสมาร์ทโฟน ผู้ป่วยจะต้องนับเลข 50–70 ออกมาดัง ๆ เพื่อให้เอไอตรวจสอบน้ำเสียงได้
ทีมพัฒนาใช้ชุดข้อมูลเสียงจำนวน 275,000 ชุดในการสร้างอัลกอริธึม โดยใช้ชุดข้อมูลจากหลากหลายภาษา และมีการทดสอบกับผู้ป่วยราว 2,000 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการเป็นส่วนใหญ่ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าตัวเอไอสามารถตรวจจับได้อย่างแม่นยำถึง 81.2 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ได้แสดงอาการออกมาให้เห็นชัดก็ตาม…
ตั๋วเครื่องบินยิ่งจองใกล้ยิ่งแพง ยิ่งจองช่วงเทศกาลยิ่งราคาสูง นี่คือความเข้าใจเกี่ยวกับตั๋วเครื่องบินที่ทำให้หลายคนต้องวางแผนล่วงหน้าก่อนเดินทางกันหลายเดือน บางครั้งเป็นปีก็มี เพื่อให้ได้ตั๋วเครื่องบินที่ราคาถูกและคุ้มค่าที่สุด
ยิ่งช่วงนี้เป็นช่วงสงกรานต์ เทศกาลฮอตฮิตของไทยที่ทุกคนต่างเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนากัน หลายคนอาจคิดว่าตั๋วเครื่องบินคงจะแพงหูฉี่แน่ ๆ แต่อย่าเพิ่งปักใจเชื่อถ้าหากไม่ได้รับการพิสูจน์ด้วยหลักฐานสำคัญนั่นก็คือการเก็บข้อมูลนั่นเอง
วันนี้เราจะมาพิสูจน์กัน โดยเราจะทำการเก็บข้อมูลราคาตั๋วเครื่องบินของเที่ยวบินแบบไปกลับ ไปวันที่ 13 เมษายน กลับ 18 เมษายน ของ 4 สายการบิน ได้แก่ AirAsia VietJet Thai Smile และการบินไทย ซึ่งจะจองตั๋วเส้นทางบินทั้งหมด 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต และกรุงเทพฯ-ขอนแก่น โดยจะเริ่มทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม ถึง 11 เมษายน เพื่อตอบข้อสงสัยว่า เมื่อใกล้วันเดินทางมากขึ้น ราคาค่าตั๋วของแต่ละสายการบินปรับขึ้นอย่างไรบ้าง?
ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลยครับ
Tesla ที่ว่าแน่ยังแพ้เมื่อเจอนันยาง เมื่อนันยางโพสต์ข้อความผ่านทาง Facebook ของแบรนด์ว่า เปิดรับชำระค่ารองเท้าเป็นสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) อย่าง Bitcoin(BTC) Ethereum(ETH) และ Dogecoin(DOGE) แล้ว
นันยางเป็นแบรนด์รองเท้าชื่อดังที่อยู่คู่ชีวิตคนไทยมานานหลายยุคหลายสมัย รวมเป็นเวลากว่า 70 ปี ตั้งแต่ตำนานรองเท้าช้างดาวชื่อดัง ของขึ้นชื่อที่บ้านไหนก็ต้องมีสักคู่ ไปจนถึงรองเท้านักเรียนคู่ใจของเด็กวัยประถมและมัธยม
การเปิดรับเงินสกุลดิจิทัลของนันยางครั้งนี้นับว่าเรียกเสียงฮือฮาได้มาก เนื่องจากเป็นสินค้าและแบรนด์ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะตัดสินใจลงมาเล่นในสนามของสกุลเงินดิจิทัล จึงถือเป็นการปรับตัวครั้งใหญ่ของแบรนด์ที่ดูเก่าแก่ และเป็นการเริ่มต้นที่เร็วกว่าแบรนด์อื่น ๆ มาก
การเพิ่มสกุลเงินดิจิทัลครั้งนี้เป็นอีกการปรับปรุงภาพลักษณ์แบรนด์ให้ดูมีความทันสมัยมากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ นันยางนี้มีการเปิดตู้ขายรองเท้าอัตโนมัติเพื่อเข้าถึงลูกค้าวงกว้าง และตอบโจทย์ชีวิตของคนรุ่นใหม่ให้ได้มากกว่าเดิม
หากลูกค้าคนไหนมีความประสงค์จะซื้อรองเท้านันยางด้วยสกุลเงินดิจิทัล สามารถทักไปทางเพจ Facebook ของนันยาง โดยแจ้งสินค้าและสกุลเงินที่ต้องการใช้ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการให้ หลังจากนั้นหลักฐานการชำระเงินและรอรับนันยางคู่โปรดที่บ้านได้เลย…
The ideal goal of developing AI is to have AI that can perfectly mimic the way humans think, learn, and make decisions. We, humans, learn automatically from the world around us. If AI can do the same, it will open rooms for more and more advanced innovations.
Nowadays, AI has come closer to that goal. Several tech companies have introduced technologies that enable AI to learn from video. Videos uploaded on social media represent events happening around the world. Learning from videos allows AI to learn like humans do, which develops AI to be more like humans.
Today, we would…
คำว่า Artificial Intelligence (AI) นั้นหากแปลเป็นไทยจะมีความหมายว่า ‘ปัญญาประดิษฐ์’ ซึ่งเป็นชื่อเรียกที่แสดงให้เห็นถึงจุดประสงค์ของการสร้างเอไออย่างชัดเจน ทีมพัฒนาเอไอที่ทำงานกันอย่างหนักทั่วมุมโลกต่างมีเป้าหมายเดียวกันคือ เพื่อพัฒนาเอไอให้มีความสามารถในการเรียนรู้ ตัดสินใจ คิดหาทางออกในแบบที่เหมือนมนุษย์เรามากที่สุด หรือพูดอีกอย่างคือมี ‘ปัญญา’ ที่ ‘ประดิษฐ์’ ขึ้นมาได้ใกล้เคียงมนุษย์ที่สุด
หนึ่งในความพิเศษของสิ่งมีชีวิตคือเรามีกระบวนการเรียนรู้เรื่องต่างๆ ด้วยตนเองผ่านสิ่งรอบตัว มนุษย์เราเองก็เรียนรู้จากโลกและผู้คนที่เคลื่อนไหวอยู่รอบ ๆ ซึ่งนี่แหละเป็นภาพในอุดมคติที่ทีมพัฒนาหวังให้เอไอทำได้
ปัจจุบันเอไอก็พัฒนาขึ้นไม่น้อย จากที่เคยเรียนรู้อย่างจำกัดอยู่แค่สิ่งที่มนุษย์ป้อนให้ ก็พึ่งพามนุษย์น้อยลงเรื่อย ๆ ข้อมูลที่ใช้ในการเรียนรู้ก็เริ่มจะหลากหลายขึ้น จากแค่รูปภาพ ก็เริ่มเรียนจากการมองเห็น จากเสียง และจากภาษาของมนุษย์ได้
ความท้าทายล่าสุดที่บริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่หลายที่กำลังพยายามจะก้าวข้ามให้ได้คือ การสอนเอไอให้เรียนรู้ด้วยตัวเองจากวิดีโอ เพราะวิดีโอที่อัปโหลดโดยผู้ใช้งานทั่วทุกมุมโลกก็เปรียบเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงบนโลก ซึ่งถ้าสำเร็จจะทำให้เอไอสามารถเรียนรู้จากเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัวได้เหมือนที่มนุษย์เราทำได้ รอดูได้เลยว่าจะมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เราคาดไม่ถึงอีกมากมาย…
ผลสำรวจจากองค์กร Feathm AI องค์กรที่มีเป้าหมายในการเตรียมความพร้อมให้โลกปรับเข้าสู่การทำงานในอนาคต รายงานว่าจะมีงานอีกกว่า 1.4 ล้านตำแหน่งในประเทศอังกฤษ หรือนับเป็น 4.8% ของงานทั้งหมดถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติภายในสิ้นปีนี้
ซึ่งนักวิเคราะห์ข้อมูลของ Feathm AI ได้ให้ความเห็นว่าหลังจากการเข้ามาของระบบอัตโนมัติ องค์กรเริ่มลดค่าใช้ง่ายด้านแรงงานคนและหันมาใช้ระบบอัตโนมัติที่ถูกกว่าแทน นอกจากนี้ยังเป็นผลพวงของ Covid-19 ที่ทำให้องค์กรต้องลดปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ในที่ทำงาน จึงทำให้การหันมาใช้ระบบอัตโนมัติมาแรงมากในขณะนี้ นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้จ่ายของคนที่หันไปซื้อของออนไลน์มากขึ้นก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้แม้จะไม่มี Covid-19 องค์กรก็มีแนวโน้มจะใช้ระบบอัตโนมัติแทนกำลังคนมากขึ้นเรื่อย ๆ
จากรายงานพบว่ากลุ่มงานส่วนของค้าส่ง ค้าปลีก และการเงินนั้นเสี่ยงจะถูกแทนที่มากที่สุด โดยนับเป็น 932,000 งานจากจำนวนทั้งหมด 1.4 ล้านตำแหน่งเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามแม้งานจะถูกแทนที่ แต่เทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่นี้ทำให้เกิดตำแหน่งงานใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนกว่า 382,000 งาน
ซึ่ง Feathm AI อยากให้คนหันไปสนใจตำแหน่งงานใหม่ ๆ เริ่มฝึกฝนทักษะเตรียมความพร้อมเพื่องานเหล่านี้ มากกว่าจะกังวลกับจำนวนงานที่ถูกแทนที่ เพราะงานที่ถูกแทนที่มักเป็นงานซ้ำซากจำเจ และงานใหม่ ๆ นี้จะสร้างโอกาสที่มั่นคงได้อีกมากในอนาคต โดยให้เน้นฝึกฝนเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความเห็นอกเห็นใจ และทักษะการสื่อสาร ซึ่งล้วนเป็นทักษะที่ปัจจุบันนี้เครื่องจักรยังทำแทนเราไม่ได้แน่นอน…
ในภาพยนตร์ไซไฟหลายเรื่อง มีหลายครั้งที่เราเห็นตัวละครเข้าไปในความฝันของคนอื่น การกระทำเช่นนี้ไม่ได้อยู่แค่ในจินตนาการอีกต่อไป เมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถเจาะเข้าไปในความฝันของคนที่กำลังหลับและสื่อสารกับคน ๆ นั้นในความฝันได้สำเร็จ
การทดลองครั้งนี้เป็นความร่วมมือของทีมนักวิทยาศาสตร์จาก 4 ประเทศ ได้แก่ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา โดยการทดลองจะเลือกคนที่เคยฝันแบบ Lucid dream หรือฝันแบบที่รู้ว่าตัวเองกำลังฝันอยู่ และอาจสามารถควบคุมบางอย่างในฝันได้ และอีกกลุ่มคือคนที่ไม่เคยฝันแบบนี้ แต่สามารถจำความฝันของตนเองได้มาร่วมการทดลอง
การฝันแบบ Lucid dream นั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับอาการ REM หรือ Rapid eve movement ซึ่งอาการนี้คือความสามารถในการกรอกตาไปมาในขณะที่กำลังฝันอยู่ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีหลักที่นักวิทยาศาสตร์ใช้สื่อสารกับผู้ทดลอง
ในอดีตที่ผ่านมาเคยมีการพยายามทดลองสื่อสารกับคนที่กำลังฝันมาโดยตลอดโดยใช้สิ่งเร้า เช่น แสงไฟ และเสียง แต่ยังได้ผลตอบรับที่น้อย ในการทดลองครั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ตกลงกับผู้ทดลองว่าจะให้สัญญานเช่นเสียง แสง และการสัมผัสในขณะที่เขาหลับและเริ่มฝันเพื่อให้เขารู้ว่าตัวเองกำลังฝัน หลังจากนั้นจะเริ่มการทดลองด้วยการสื่อสารหลากหลายวิธี เช่น ส่องไฟฉาย ถามคำถามง่าย ๆ หรือโจทย์เลขง่าย ๆ จากนั้นดูว่าผู้ฝันจะตอบสนองตามวิธีที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ก่อนหลับ เช่น ขยับตาไปทางซ้ายสามครั้ง ยิ้ม หรือขมวดคิ้วหรือไม่…
I close my eyes and try to remember what I was. / he says it was an important and interesting day, / because I put in his hands one night / the box of light that had been a tree
นี่คือส่วนหนึ่งของกลอน “A box of light” ซึ่งพุดถึงการคร่ำครวญของเสาไฟที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นต้นไม้ กลอนที่ฟังดูเพราะและเฉียบคมนี้ไม่ใช่ฝีมือของกวีทั่วไปแต่อย่างใด แต่เป็นกวีที่เป็น ‘เอไอ’
โครงการนี้นำโดยเอส เดฟลิน (Es Devlin) Avantgarde และแลปด้านศิลปะและวัฒนธรรมของ Google โดยทีมนักพัฒนาได้ทำการสร้างอัลกอริธึมให้เรียนรู้จากกลอนร่วมสมัยของอังกฤษกว่า 100 บรรทัด โดยให้เรียนรู้สไตล์การแต่งกลอนของกวีชื่อดังอย่างไซมอน อาร์มิเทจ (Simon Armitage) และอลิซ ออสวาลด์ (Alice Oswald) จากนั้นจึงป้อนคำสำคัญที่ทำให้เอไอสามารถเรียนรู้โครงเรื่องที่ทีมกำหนด และสร้างเป็นกลอนออกมาได้
จากนั้นผู้เชี่ยวชาญจาก Poetry Society, Poetry Archive และ Scottish Poetry Library จะทำการตรวจสอบกลอนกว่าหลายสิบบทที่เอไอแต่งออกมาเพื่อดูว่าบทไหนที่ดีและไม่ดี หากยังไม่ดีก็จะเริ่มต้นใหม่ไปเรื่อย ๆ จนทำให้เอไอสามารถพัฒนาได้ถึงระดับที่แต่งกลอนที่เฉียบคมอย่างกลอนบทนี้ได้
ซึ่งกลอนบทนี้ทางทีมพัฒนาถือว่าเป็นกลอนที่ประสบความสำเร็จมาก เนื่องจากถึงแม้ว่าจะไม่ได้แต่งจากประสบการณ์ และไม่ได้ประกอบไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวแบบที่กวีที่เป็นมนุษย์สามารถทำได้ กลอนนี้ก็เปี่ยมไปด้วยการเปรียบเปรยที่หลักแหลม ซึ่งสุดท้ายแล้วก็สามารถกระตุ้นให้มนุษย์ผู้อ่านได้คิดและทบทวนในสิ่งที่เอไอบอกกล่าวผ่านกลอนได้ในที่สุด
บทความโดย: ทีม Sertis
Leading big data and AI-powered solution company